หน้าเว็บ

การดูแลรักษาผ้าไหม

   
 การดูแลรักษาผ้าไหม
                     เริ่มตั้งแต่การซัก ควรใช้สบู่หรือสารซักฟอกที่มีสภาพเป็นกลางหรือมีความเป็นด่างน้อย ไม่ควรขยี้หรือขัดถูผ้าไหมแรง  แต่ควรซักด้วยการแกว่งหรือสลัดเบา  ในน้ำจนสะอาด แล้วจึงค่อย  บีบเอาน้ำออกจนผ้าหมาด แต่อย่าบิดผ้าไหม และอย่าซักโดยใช้เครื่องซักผ้า เวลาตากให้ตากไว้ในที่ร่ม ไม่ควรแขวนผ้าไหมไว้กลางแดดหรือแขวนไว้ใกล้แหล่งกำเนิดรังสี ถ้าต้องการให้ผ้าไหมแห้งเร็วก็ให้เป่าแห้งโดยใช้พัดลม ไม่ควรทำให้แห้งโดยใช้เครื่องปั่นผ้า เพราะจะทำให้เกิดรอยยับมาก ซึ่งจะทำให้รีดลำบากและไม่ควรปล่อยให้ผ้าแห้งเองโดยใช้เวลานาน  อาจทำให้เกิดรอยด่างเป็นจุด  จากรอยแห้งของหยดน้ำ
      ส่วนการรีด ก็ควรรีดขณะผ้ายังหมาดอยู่ แต่ในกรณีที่ผ้าแห้งแล้ว ให้พรมน้ำลงบนผ้าจนผ้าชื้นทั่วทั้งผืน ควรใช้อุณหภูมิในการรีดไม่เกิน 145 องศาเซลเซียส และรีดด้านในของผ้า หรืออาจจะใช้ผ้าบาง  ชุบน้ำยาหมาด  ปูลงด้านนอกของผ้า หรืออาจจะใช้ผ้าบาง  ชุบน้ำยาหมาด  ปูลงด้านนอกของผ้า แล้วจึงรีดทับบนผ้าบางนั้น จะทำให้ได้ผ้าไหมที่มีความเรียบและสวยงาม แต่ถ้ารีดผ้าไหมขณะยังเปียกและใช้ความร้อนสูงเกิน จะทำให้ผ้าไหมมีความกระด้างไม่น่าสัมผัส
สำหรับผ้าไหมที่ซื้อมาใหม่
    สำหรับผ้าไหมที่ซื้อมาใหม่นั้น ควรจะนำไปแช่น้ำหรืออบไอน้ำ เพื่อให้เนื้อผ้ามีความอยู่ตัวก่อนที่จะนำไปตัด ซึ่งขั้นตอนสำหรับการดูแลรักษาผ้าไหม มีอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นตอนการซัก การทำความสะอาดผ้าไหมให้ดูใหม่อยู่เสมอ ควรซักด้วยน้ำยาซักแห้งชนิดอ่อน ถ้าเป็นน้ำยาซักแห้งที่ทำมาสำหรับผ้าไหมโดยเฉพาะก็จะดีมาก แต่ไม่แนะนำให้ซักผ้าไหมด้วยเครื่องซักผ้า เพราะจะทำให้ผ้าไหมยับมากและรีดยาก ควรซักผ้าไหมด้วยมือด้วยความนุ่มนวลและไม่ขยี้หรือบิดผ้าแรง  เพราะจะทำให้ผ้าเสียทรง หากนำผ้าไหมลงน้ำแล้วไม่ควรแช่ไว้นาน โดยเฉพาะผ้าสีสด เช่น สีม่วง สีชมพูสด สีบานเย็น และโดยเฉพาะผ้าโทนสีเข้ม  หลังจากซักเสร็จแล้วควรสลัดผ้าไหมให้คลายตัวและไม่ย่นก่อนนำตาก เมื่อผ้าแห้งจะทำให้รีดได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะทำให้ผ้าไหมไม่เสียทรงและยับง่าย

2. ขั้นตอนการตาก ขั้นตอนของการตากนั้น หลังจากทำการซักเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ควรสลัดผ้าเพื่อให้ผ้าคลายตัวแล้วนำไปตากในที่ร่ม หรือที่ที่มีแสงแดดอ่อน  ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่สำคัญพยายามเลี่ยงในบริเวณที่แดดจัด  เพราะจะทำให้สีผ้าไหมซีดได้
3. ขั้นตอนการรีด ขั้นตอนในการรีดนั้น ก่อนรีดให้ฉีดพรมน้ำยารีดผ้าไหมให้ทั่ว และรีดด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ความร้อนที่เตารีดแต่ละชนิดกำหนดไว้ แต่สำหรับผ้าไหมพิมพ์ลายให้ลดความร้อนลงจากปกติประมาณ 1 - 2 ระดับ ถ้าผ้าไหมยับมากก่อนรีดควรฉีดพรมน้ำยาให้ทั่ว แล้วพับใส่ถุงพลาสติก นำไปแช่ในช่องเข็งในตูเย็นประมาณ 10 - 15 นาที แล้วจึงนำออกมารีด จะทำให้รีดผ้าไหมได้ง่ายและเรียบยิ่งขึ้น

ขั้นตอนการทอผ้าไหม




ขั้นตอนการทอผ้าไหม

ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี ( ฟืม ) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ให้พอเหมาะ

อุปกรณ์การทอผ้าไหม



 อุปกรณ์สำหรับทอผ้า  ประกอบด้วยส่วนต่าง ดังนี้

 1. ฟืม หรือฟันหวี มีลักษณะคล้ายหวี ยาวเท่ากับความกว้างของหน้าผ้าทำด้วยโลหะ
มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ มีกรอบทำด้วยไม้หรือโลหะ แต่ละซี่ของฟืมจะเป็นช่องสำหรับสอดด้ายยืน
เข้าไป เป็นการจัดเรียงด้ายยืนให้ห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้เส้นด้าย
ที่ทอเรียงติดกันแน่นเป็นผืนผ้า ฟืมสมัยโบราณทำด้วยไม้ แกะสลักเป็นรูปนกหรือเป็นลวดลายต่าง ๆ
สวยงามมาก




 2. เขาหูก หรือ ตะกอ / ตระกอ คือส่วนที่ใช้สอดด้ายเป็นด้ายยืน และแบ่งด้ายยืนออก
เป็นหมู่ๆ ตามต้องการ เพื่อที่จะพุ่งกระสวยเข้าหากันได้สะดวก เขาหูกมีอยู่ 2 อัน แต่ละอันเวลาสอด
ด้ายต้องสอดสลับกันไปเส้นหนึ่งเว้นเส้นหนึ่ง ที่เขาหูกจะมีเชือกผูกแขวนไว้กับด้านบน โดยผูกเชือก
เส้นเดียวสามารถจะเลื่อนไปมาได้ส่วนล่างผูกเชือกติดกับคานเหยียบหรือตีนเหยียบไว้ เพื่อเวลา
ต้องการดึงด้ายให้เป็นช่องก็ใช้เท้าเหยียบคานเหยียบนี้ คานเหยียบจะเป็นตัวดึงเขาหูกให้เลื่อนขึ้นลง
ถ้าหากต้องการทอเป็นลายๆ ก็ต้องใช้คานเหยียบหลายอัน เช่น ลายสองใช้คานเหยียบ 4 อัน เรียก ทอ 4 ตะกอ ลายสามใช้คานเหยียบ 6 อัน เรียก ทอ 6 ตะกอ จำนวนตะกอที่ช่างทอผ้าเกาะยอใช้ มีตั้งแต่ 2–12 ตะกอ ผ้าผืนใดที่ทอหลายตะกอถือว่ามีคุณภาพดีมีลวดลายที่ละเอียด สวยงาม และมีราคาแพง


  3. กระสวย คือไม้ที่เป็นรูปเรียวตรงปลายทั้งสองข้าง ตรงกลางใหญ่ และมีร่องสำหรับ
ใส่หลอดด้ายพุ่ง ใช้สำหรับพุ่งสอดไปในช่องด้ายยืนระหว่างการทอผ้า หลังจากที่ช่างทอเหยียบคาน
เหยียบให้เขาหูกแยกเส้นด้ายยืนแล้ว



 4. ไม้แกนม้วนผ้า หรือ ไม้กำพั่น ชาวบ้านเกาะยอเรียกว่า พั้นรับผ้า เป็นไม้ที่ใช้
สำหรับม้วนผ้าที่ทอแล้ว ไม้แกนม้วนผ้ามีขนาดความยาวเท่ากับกี่หรือเท่ากับความกว้างของหน้าผ้า




 5. คานเหยียบ หรือ ตีนเหยียบ เป็นไม้ใช้สำหรับเหยียบเครื่องบังคับตะกอ เพื่อให้เชือก
ที่โยงต่อมาจากเขาหูกหรือตะกอดึงด้ายยืนให้แยกออกเป็นหมู่ ขณะที่ช่างทอพุ่งกระสวยด้ายพุ่ง
เข้าไปขัดด้ายยืนให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ


   


6. หลอดด้ายพุ่ง เป็นหลอดไม้ไผ่ที่บรรจุด้ายสีต่าง ๆ สอดอยู่ในรางกระสวยเพื่อใช้พุ่ง
ไปขัดด้ายยืนในขณะที่ช่างทอกำลังทอผ้าและกระตุกสายกระตุกไปหลอดเส้นด้ายพุ่งก็จะพุ่งไปขัดกับ
เส้นด้ายยืนเกิดเป็นลายผ้าตามต้องการ

 7. ผัง เป็นไม้สำหรับค้ำความกว้างของผ้าให้หน้าผ้าตึงพอดีกับฟืม เพื่อว่าจะได้สะดวก
เวลาทอ และเส้นด้ายตรงลายไม่คดไปคดมา ด้านหัวและด้านท้ายของผังจะผูกเข็มไว้เพื่อใช้สอดริมผ้า
ทั้งสองข้าง

 8.ไนปั่นด้าย เป็นอุปกรณ์ที่แยกออกมาจากกี่ทอผ้า ใช้สำหรับปั่นด้ายเข้ากระสวย และปั่นด้ายยืนเข้าระหัดถักด้าย



  




    
      

ประเภทของผ้าไหม

           ผ้าไหมไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า และเป็นเอกลักษณ์ของไทย ที่มีการถ่ายทอดจากบรรพชนสู่สังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งในอดีตนั้น ผ้าไหมก็เป็นที่รู้จักกันในวงแคบๆของชุมชนที่ผลิตกันเอง ใช้กันเองเฉพาะในแต่ละกลุ่ม มิได้ขยายออกสู่สังคมอันกว้างไกล 


      
 


 ผ้าไทย
                 “ ผ้า “ เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจาก อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ในสังคมเกษตรจะมีการทอผ้าเพื่อใช้สอยภายในครอบครัว โดยการถ่ายทอดวิธีการทอผ้าให้แก่สมาชิกที่เป็นเพศหญิง ซึ่งนับว่าเป็นภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม
                 การทอผ้าของไทยมีมาแต่โบราณ จากอดีตถึงปัจจุบันมนุษย์ได้พัฒนาการทอผ้าทั้งรูปแบบ เทคนิคการย้อมสี และการออกแบบลวดลาย ดังปรากฏในจดหมายเหตุและพงศาวดารครั้งสมัยสุโขทัย อยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการทอผ้าตามกลุ่มชนต่างๆของไทย เช่น ข่า กระโส้ กระเลิง ส่วย ฯลฯ
                 ผ้าทอในประเทศไทยแสดงถึง ศิลปะภูมิปัญญาของชุมชน ซึ่งแบ่งประเภทของผ้าทอได้เป็นสองประเภท ตามวัตถุดิบในการทอ และกรรมวิธีในการทอ คือ
                 1. ผ้าทอที่แบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ ฝ้ายและไหม
                 ฝ้าย เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชเขตร้อน ชอบดินปนทราย และอากาศโปร่ง ไม่ชอบที่ร่ม เส้นใยของฝ้ายจะดูดความชื้นได้ง่าย และเมื่อดูดความชื้นแล้วจะระเหยเป็นไอ ดังนั้นเมื่อสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำด้วยผ้าฝ้ายจะมีความรู้สึกเย็นสบาย
                 ไหม เส้นใยไหมได้จากตัวไหม ซึ่งส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไหมกันใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ตัวไหมมีลักษณะคล้ายหนอน เมื่อแก่ตัวจะชักใยหุ้มตัวของมันเอง เรียกว่า รังไหม รังไหมนี้จะนำมาสาวเป็น เส้นไหม แล้วจึงนำไปฟอกด้วยการต้มด้วยด่างและนำมากวักเพื่อให้ได้เส้นใยไหม หลังจากนั้นจึงนำมาย้อมสีและนำไปทอเป็นผืนผ้าตามที่ต้องการ เส้นไหมมีคุณสมบัติ ลื่น มัน และยืดหยุ่นได้ดี
                 2. ผ้าทอที่แบ่งตามกรรมวิธีในการทอ ซึ่งมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลวดลายที่เกิดจากการทอบนผืนผ้า เช่น
                 ผ้ามัดหมี่ มีกรรมวิธีการทอที่ทำให้ให้เกิดลวดลายโดยการย้อมเส้นฝ้ายให้ด่าง โดยการผูกมัดให้เกิดช่องว่าง การทอผ้ามัดหมี่แต่ละผืนต้องใช้เวลาและความประณีต โดยจัดเรียงเส้นไหมและฝ้ายให้สม่ำเสมอ คงที่ กรรมวิธีต้องเรียงลำดับก่อนหลังให้ถูกต้อง เพื่อทำให้เกิดลวดลายสวยงามตามต้องการ
                 ผ้าจก การทอจกเป็นกรรมวิธีของการทอและการปักผ้าไปพร้อมๆกัน การทอลวดลายใช้วิธีการเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าเป็นช่องๆไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้า ซึ่งจะทำได้โดยใช้ไม้หรือขนเม่น หรือนิ้วมือยกขึ้น เป็นการทอผสมการปักกลายๆ
                 ผ้าขิด เป็นการทอผ้าด้วยกรรมวิธี เขี่ย หรือสะกิดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นพุ่งไปตามแนวเส้นยืน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งจะทำให้เกิดลวดลายรูปแบบต่างๆ
                 ผ้าแพรวา เป็นผ้าทอมือด้วยกรรมวิธีทอผ้าให้เกิดลวดลาย ลักษณะผสมกันระหว่างลายขิดกับลายจก ผ้าแพรวาต้องมีหลายๆลายอยู่ในผืนเดียวกัน
                 ผ้ายกดอก มีกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายในการยกตะกรอแยกด้ายเส้นยืน แต่ไม่ได้เพิ่มเส้นด้ายยืน หรือ เส้นพุ่งพิเศษเข้าไปในผืนผ้า แต่ในบางครั้งจะยกดอกด้วยการเพิ่มเส้นพุ่ง จำนวน สองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไป
ผ้าทอกับโอกาสที่ใช้ 
                 ผ้าพื้น ทอโดยการใช้ไหมเส้นพุ่ง และไหมยืนสีเดียวเท่านั้น เช่น ไหมพุ่งเป็นสีเขียว ไหมเส้นยืนเป็นสีทอง ใช้เป็นผ้านุ่ง หรือในโอกาสอื่นๆ
                 ผ้าสไบ มีลักษณะคล้ายผ้าขาวม้า ใช้พาดบ่าในงานบวช งานบุญ และงานรื่นเริงต่างๆ
                 ผ้าโสร่ง เป็นผ้านุ่งสำหรับผู้ชาย ใช้นุ่งอยู่กับบ้าน หรือใส่ไปในงานพิธีต่างๆ และเป็นผ้าไหว้พ่อ – แม่ ของเจ้าบ่าวเจ้าสาว
                 ผ้านุ่ง ใช้นุ่งอยู่กับบ้าน ใช้ในงานพิธี ใช้เป็นผ้าไหว้ในงานแต่งงาน ได้แก่ผ้าพื้น
                 ผ้าเก็บ ใช้สำหรับพาดบ่า ไปวัด หรืองานพิธีต่างๆ